Slippage คืออะไร? 

Slippage คืออะไร?

ความหมายของคำว่าสลิปเพจ (Slippage) ก็คือค่าความคลาดเคลื่อนระหว่างราคาในจุดที่ระบบเกิดสัญญาณซื้อขาย (Buy/Sell Signal) กับราคาที่เราสามารถซื้อขายได้จริงๆ (Executed  Price) โดยอาจเกิดจากหลายๆสาเหตุเช่น สภาพคล่องของหุ้นที่ต่ำ, สภาวะตลาดที่ผิดปกติ หรือข่าวที่เป็นด้านบวกหรือด้านลบมากๆที่เข้ามาระหว่างวัน ทำให้ราคาเกิดการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงเป็นต้น

เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเหล่านี้ทำให้นักลงทุนควรทดสอบและประมาณการค่า Slippage ก่อนตัดสินใจลงทุนตามกลยุทธ์ใดๆ นอกจากนี้การเพิ่มค่า Slippage ในการทดสอบระบบนั้น ยังเป็นอีกวิธีที่เป็นการตรวจสอบความแข็งแกร่งหรือความเสถียร (Robustness) ของระบบ ซึ่งระบบที่มีความอ่อนไหวต่อราคาซื้อขายที่สูง (High Sensitivity) หรือระบบซื้อขายที่ทำการซื้อขายบ่อยและมีความสามารถในการทำกำไรต่อหนึ่งการเทรดไม่สูงพอ (ค่า Expectancy ต่ำ) เมื่อระบบเหล่านี้พบกับค่า Slippage ในการลงทุนจริงๆจะทำให้ผลตอบแทนของระบบนั้นแย่กว่าที่คาดหวังไว้ทันที

เหตุผลหลักสำหรับสลิปเพจ คือ ความผันผวนของตลาดฟอเร็กซ์ และความเร็วในการดำเนินการจับคู่คำสั่งซื้อขาย
เมื่อตลาดมีความผันผวนสูง โดยทั่วไปแล้วจะหมายความว่ามีสภาพคล่องต่ำ และราคาตลาดก็จะผันผวนอย่างรวดเร็ว สิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อเทรดเดอร์ฟอเร็กซ์เมื่อสภาพคล่อง FX ไม่มากพอที่จะทำตามคำสั่งซื้อในราคาที่ร้องขอ เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ผู้ให้บริการสภาพคล่องจะดำเนินการตามคำสั่งซื้อขายในราคาที่ดีที่สุดที่หาได้ต่อไป

อีกหนึ่งสาเหตุที่ก่อให้เกิดสลิปเพจ คือ ความเร็วในการดำเนินการจับคู่คำสั่งซื้อขาย ยิ่งเครือข่ายสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (ECN) ของคุณดำเนินการได้เร็วแค่ไหน โอกาสที่จะได้ราคาที่คุณต้องการก็ยิ่งมากขึ้น ด้วยความผันผวนของราคาตลาดที่เปลี่ยนแปลงในเสี้ยววินาที การดำเนินการที่รวดเร็วกว่าสามารถสร้างความแตกต่างได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการซื้อขายปริมาณมาก

Slippage ในรูปแบบต่างๆ

ปรากฏการณ์ Slippage นั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการซื้อขายจริงๆในตลาด (Live Trading) ไม่ว่าคุณจะทำการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทไหนก็ตาม ยิ่งถ้าสภาพคล่องของสินทรัพย์ที่เลือกลงทุนนั้นต่ำระบบเราก็จะต้องรับมือกับค่าเฉลี่ยของ Slippage ที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยเราจะทำการแบ่งหน่วยมาตราวัดของค่า Slippage ออกเป็น 3 รูปแบบคือ

1. Slippage ในหน่วยเปอร์เซ็น (Percent)

ความหมายคือ การที่เราได้ซื้อ (หรือขาย) ได้แพง (หรือถูก) กว่าราคาที่เกิดสัญญาณกี่เปอร์เซนต์ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ค่า Slippage เท่ากับ 3% ก็คือ ราคาต้นทุนของหุ้นที่ซื้อเข้า portfolio ได้จริงนั้นแพงกว่าราคาที่เกิดสัญญาณซื้อ 3% และหุ้นที่ขายออกจาก portfolio ขายได้ราคาถูกกว่าราคาที่เกิดสัญญาณขายอีก 3% คิดรวมแล้วเป็น Slippage ทั้งหมด 6% ในการทำการซื้อขายในแต่ละครั้ง

2. Slippage ในหน่วยช่อง (Spread)

ความหมายของคือ การที่เราได้ซื้อ (หรือขาย) ได้แพง (หรือถูก) กว่าราคาที่เกิดสัญญาณกี่ช่องยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ค่า Slippage เท่ากับ 3 ช่อง ก็คือ ราคาที่เกิดสัญญาณซื้อเท่ากับ 5 บาทแต่ราคาจริงที่จับคู่คำสั่งซื้้อขาย (Match) คือ 5.15 บาท ซึ่งเท่ากับ 3 %  อย่างไรก็ดีสิ่งที่ทำให้แตกต่างกับ Slippage แบบเปอร์เซนต์คือราคาหุ้นในแต่ละช่วงราคามีสเปรดไม่เท่ากัน เช่นหากหุ้นมีราคา 200 บาทจะมีสเปรดเท่ากับ 1 บาทต่อหนึ่งช่อง ดังนั้นที่ Slippage  3 ช่อง ห

at 200 baht, there will be a spread equal to 1 baht per channel. Therefore, 3 channels of Slippage means that it can be purchased at 203 baht or 1.5%.

3. Slippage ในหน่วยของความผันผวน (Volatility)

ความหมายของค่า Slippage ในหน่วยของความผันผวน (Volatility) คือราคาที่เกิดการซื้อขายจริงนั้นมีค่าเป็นกี่เปอร์เซ็นของช่วงราคาในวันที่มีสัญญาณซื้อขาย โดยการคำนวณค่าความผันผวนนั้นจะนำราคาเปิดมาเป็นตัวแปรหลักโดยพิจารณาส่วนต่างระหว่างราคาเปิดและราคาสูงสุด (Open – High Range) สำหรับกรณีที่เป็นสัญญาณซื้อ และส่วนต่างระหว่างราคาเปิดและราคาต่ำสุด (Open – Low Range) สำหรับกรณีที่เป็นสัญญาณขายยกตัวอย่างเช่น หุ้น XX ราคาเปิดที่ 10 บาทและราคาสูงสุดคือ 11 บาท ราคาที่ซื้อได้จริงรวม Slippage  30% Volatility จะเท่ากับ 10.30 เป็นต้น